รถเครนคืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
เครน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปั้นจั่น“
“เครน” คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ มี 2 แบบ คือ เครนเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) และเครนเคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes)
เครนมี 3 ประเภท คือ
- เครนเหนือศรีษะ และเครนขาสูง (Overhead Crane and Gentry Crane)
2. เครนหอสูง (Tower Crane)
3. รถเครน เรือเครน (Mobile Crane)
เครนมี 2 แบบ คือ
- เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
- เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้งหรือ บนล้อเลื่อน
เครนชนิดเคลื่อนที่ ( Mobile Cranes )
- รถเครนตีนตะขาบ ( Crawler Crane ) คือ เครนที่มีการเคลื่อนที่ด้วยตีนตะขาบ และส่วนใหญ่มีบูมเป็นแบบบูมสาน (Lattices Boom) เหมาะสมกับการใช้ในไซด์งานที่บุกเบิกใหม่ พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยาก แต่ไม่แนะนำให้ใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางคราวละหลายร้อยเมตร เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว มีขนาดตั้งแต่ 50 ตัน ไปจนถึง 100 ตัน
2. รถเครนล้อยาง ( All Terrain Cranes ) คือ รถบรรทุกล้อยางที่มีเครนอยู่ด้านหลังหรือด้านบน ล้อยางเคลื่อนที่ทุกล้อ สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่ขรุขระหรือพื้นที่สมบุกสมบันได้ รถเครนล้อยางนั้นจะสมบุกสมบันน้อยกว่าเครนรถแบบตีนตะขาบ มีบูมเฟรมเป็นท่อนๆ เคลื่อนที่เข้าออกภายในบูมท่อนแรก มุมเลี้ยวแคบควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวางมุมหักศอก และองศาเลี้ยวน้อยๆ ได้ดี มีขนาดตั้งแต่ 25 ตัน ขึ้นไป
3. รถเครน 4 ล้อ ( Rough Terrain Cranes ) คือ รถแครนที่ออกแบบเพื่อใช้งานในสภาพพื้นที่ที่ขรุขระ ขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ ไม่เหมาะสมกับงานระยะทางที่วิ่งไกล ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนเครนล้อตีนตะขาบ, วิ่งข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าทรัคเครน มีขนาดตั้งแต่ 8 ตัน ขึ้นไป
4. เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane) คือ รถบรรทุกที่มีเครนติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก ใช้ยกของขึ้นตัวรถบรรทุกขนาดไม่ใหญ่มาก มีแบบพับหลัง และแบบปกติ เครนติดรถบรรทุกขนาดใหญ่ ๆ สามารถยกของได้ถึง 8 ตัน ตัวรถสามารถวิ่งด้วยความเร็วได้ เลี่ยวได้มุมแคบ
สาเหตุและอุบัติเหตุ ในการใช้งาน “รถเครน”
ที่ป้องกันได้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
– สภาวะไม่ปลอดภัย
– การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย
ที่ป้องกันไม่ได้ จะเกิดขึ้นเพียง 2% คือ ภัยธรรมชาติ
สภาวะที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 10% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่มาของสาเหตุอาจจะแบ่งได้จากองค์ประกอบ 3 ประการ
– เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่มีอุปกรณ์ช่วยความปลอดภัย ระบบเบรคไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
– สภาพพื้นที่ทำงาน อยู่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย เช่น ทางวิ่งมีผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อ ปฏิบัติงานใกล้ที่ลาดขัน สภาพพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เป็นต้น
– ตัวบุคคล ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แต่งกายไม่รัดกุม เป็นต้น
การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (การกระทำที่ไม่ปลอดภัย) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 88% ของอุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น มาจากองค์ประกอบ 3 ประการ
– ขาดความรู้ เป็นสาเหตุร้ายแรงมากที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะผ้ปฏิบัติงานขาดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ขาดความรู้เกี่ยวกับการบังคับปั้นจั่นคันนั้น ขาดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ผูกมัด ยกเคลื่อนย้ายวัสดุ คำนวณขนาดแผ่นรองขาไม่เป็น เป็นต้น
– เสี่ยง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยดีแต่ชอบปฏิบัติงานด้วยการเสี่ยง เช่น ใช้ปั้นจั่นเกินพิกัด ปฏิบัติงานด้วยความรีบเร่งเกินสมควร ลัดขั้นตอน ไม่ใช้เครื่องช่วยความปลอดภัย เช่น ใช้ระบบฝืน PTO2 สภาพพื้นที่อ่อนแต่ใช้แผ่นเหล็กขนาดเล็กรองขาปั้นจั่น หรือไม่ได้สำรวจพื้นที่ก่อนปฏิบัติงานการใช้ปั้นจั่นโดยไม่มีหน้าที่มอบหมาย เล่นตลอกคะนองในขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
– ทัศนคติไม่ถูกต้อง เช่น มีความรู้สึกต่ออุบัติเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะโชคร้าย เคราะห์ร้าย ดวงไม่ดี ฯลฯ จึงไม่ได้หาวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ